top of page
168940133_493718668665570_76646199459253
Search

ข้อกำหนดเกี่ยวกับการตอกเสาเข็ม ตามหลักกรมโยธาธิการและผังเมือง

สวัสดีค่ะ วันนี้แอดมินจะมาแนะนำเกี่ยวกับข้อกำหนดการตอกเสาเข็ม ตามหลักของกรมโยธาธิการและผังเมืองให้เข้าใจเบื้องต้นก่อนนะคะ หวังว่าบทความนี้จะช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจในการตอกเสาเข็มมากขึ้นและเป็นประโยชน์แก่ทุกคนนะคะ

-การจัดตำแหน่งที่จะตอก

-ควรหยุดตอกเมื่อใด

-การตอกเสาเข็มบริเวณดินเหนียว


การจัดตำแหน่งที่จะตอก

ต้องให้อยู่ในตำแหน่งที่วิศวกรกำหนด ให้พลาดไม่เกิน 5-10 ซม. หากตอกเสาเข็มผิดมากกว่านี้ จะเกิดแรงหนีศูนย์ขึ้น และเสาเข็มจะรับแรงโมเมนต์ดัด ดังนั้นควรมีการควบคุมงานอย่างใกล้ชิด

ถ้าเป็นชนิดเข้มกลุ่มให้ตอกจากภายในมาสู่ภายนอก หรือถ้าตอกเข็มใกล้อาคารข้างเคียง ให้ตอกากใกล้อาคารข้างเคียงก่อน แล้วค่อยตอกไล่ออกมาภายนอก เพราะปริมาตรดินที่เข็มแทนที่นั้น จะไปดันเข็มที่ตอกก่อนหน้านี้


ควรหยุดการตอกเมื่อใด ?

การตอกเสาเข็มต้องใช้หมอนรองรับ เช่น ควรใช้กระสอบหรือไม้ เพื่อลดแรงกระแทกจากลูกตุ้ม เมื่อตอกได้ความต้านทานที่ต้องการแล้ว ให้หยุดตอก เพราะถ้าเค้นต่อไป หัวเสาเข็มอาจจเสียหายได้ ดังนั้นควรหยุดเมื่อผลการตอกเสาเข็ม ดังนี้


- เสาเข็มไม้ 4 - 5 ครั้ง/การจม 1 นิ้ว

- เสาคอนกรีต 6 - 8 ครั้ง/การจม 1 นิ้ว

- เสาเข็มไม้ 12 - 15 ครั้ง/การจม 1 นิ้ว


ระหว่างการตอกเข็ม ต้องคอยแก้ทิศทางของเสาเข็ม ถ้าผิวหน้าไม่เรียบ เข็มอาจเปลี่ยนทิศทางได้ ถ้าระหว่างตอกเสาเข็มเปลี่ยนทิศทาง หรือตอกจมผิดปกติ เสาเข็มอาจจะหัก เสาเข็มต้นนั้นจะใช้ไม่ได้


การตอกเสาเข็มบริเวณดินเหนียว

การตอกเสาเข็มบริเวณดินเหนียว หรือดินตะกอน(Silt) คือ ดินพวกที่น้ำหนีได้ช้า เมื่อเสาเข็มแทนที่ดิน ทำให้แรงดันของน้ำในดินเพิ่มขึ้น ทำให้มีกำลังดันเสาเข็มให้ลอยขึ้นมา หรือเรียกว่า เสาเข็มจะรับน้ำหนักบรรทุกได้มากกว่าปกติในช่วงแรกของการตอก ไม่มีผลเท่าไร่นัก ถ้าเข็มนั้นออกแบบให้รับน้ำหนักแบบเสียดทาน แต่ถ้าเป็นเสาเข็มชนิดรับน้ำหนักที่ปลายจะทรุดตัวเร็วในช่วงแรก และจะเป็นข้อผิดพลาดมากถ้าเราตอกเข็ม เพื่อทำเป็นหมุดหลักฐาน ของการสำรวจค่าระดับ เว้นแต่ได้ตอกเสาเข็มต้นใกล้เคียง เสร็จเรียบร้อยแล้ว

การตอกเสาเข็มในดินเหนียวบางชนิด ดินจะถูกรบกวนมาก ทำให้ดินรับน้ำหนักได้น้อยลง อาจทิ้งไว้หลังจากตอกเสาเข้มเสร็จแล้ว หนึ่งถึงสองเดือนหรืออาจมากกว่า จึงทำการก่อสร้างได้





**เนื้อหาเหล่านี้อ้างอิิงจากหนังสือเสาเข็มของกรมโยธาธิการและผังเมือง กลุ่มงานวิเคราะห์วิจัยและพัฒนา สำนักควบคุมก่อสร้าง พฤศจิกายน 2547


#วิธีการตอกเสาเข็มตามหลักกรมโยธา #ตอกเสาเข็ม #ปั้นจั่น #การจัดตำแหน่งที่จะตอก #ควรหยุดตอกเข็มเมื่อใด

 
 
 

Comments


© 2023 by Sphere Construction. Proudly created with Wix.com

  • Facebook
  • Linkedin
bottom of page